Menu

โบสถ์เซนต์พอล “St. Paul’s Church ” มะละกา


โบสถ์เซนต์พอล “St. Paul’s Church ” แห่งมะละกา ตั้งอยู่บนยอดเนิน St. Paul’s hill
01
ทางขึ้นโบสถ์เซนต์พอล “St. Paul’s Church ” ก็จะต้องเดินลอดผ่านป้อมปราการ A’Famosa หรือ Porta De Santiago ที่ตั้งอยู่ด้านล่างเนินเขา
 
ในปี 1521 โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นโดยกัปตันเรือชาวโปรตุเกส นามว่า ดอร์เต้ โคเอลโฮ
และใช้ชื่อโบสถ์ว่า “Nosa Senhora” หรือ Our Lady of the Hill. ด้วยความตั้งใจให้เป็นโบสถ์ของชาวโปรตุเกสที่ใหญ่ที่สุดในมะละกา
02
ในปี 1641 เมื่อครั้งที่พวกดัตช์ เข้ายึดคลองได้เปลี่ยนชื่อโบสถ์แห่งนี้เป็น ST. Paul’s Church
เพื่อใช้โบสถ์แห่งนี้ประกอบพิธีทางศาสนาเป็นการชั่วคราว
ขณะเดียวกันชาวดัตช์ได้สร้าง โบสถ์แดง แห่งมะละกา “Christ Church Melaka” ให้เป็นโบสถ์ของชาวดัตช์ 100%สามารถติดตามเรื่องราวของโบสถ์แดงได้ที่ Link ด้านล่างนี้ครับ
ตลุยมาเลเซีย #3 : โบสถ์แดง แห่งมะละกา “Christ Church Melaka” สร้างโดยชาวดัตช์
http://www.malaysiafanclub.com/index.php?topic=52.msg918#msg918
04
หลังจากที่ โบสถ์แดง แห่งมะละกา “Christ Church Melaka” ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว
โบสถ์เซนต์พอล ก็ไม่ได้ใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาอีกต่อไป
และเปลี่ยนเป็นสุสานฝั่งศพของบุคคลสำคัญ
05
ศิลาหน้าหลุมฝังศพ บุคคลสำคัญ ถูกวางเรียงชิดผนัง
06
ความงดงามของ ศิลาหน้าหลุมฝังศพ ตัวอักษรบนแผ่นหินสลักเป็นภาษาดัตช์ (ชาวเนเธอร์แลนด์ หรือ ชาวดัตช์) 
14
พักสายตากันหน่อยครับ กับลีลาการถ่ายภาพของเพื่อนที่เดินทางไปด้วยกัน
ลองทายดูครับว่า  กำลังถ่ายรูปอะไร???
เดี๋ยวจะเฉลยตอนท้ายรีิวิวครับ  ยิงฟันยิ้ม
08
บริเวณด้านหน้าของโบสถ์เซนต์พอล “St. Paul’s Church ” จะพบกับรูปแกะสลักหินอ่อนสีขาว นักบุญฟรานซิส เซเวียร์
รูปแกะสลักนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1952 ถ้าสังเกตุดีๆ จะเป็นว่ารูปแกะสลัก
ของนักบุญฟรานซิส เซเวียร์ “St. Francis Xavier” นั้นมือขวาขาด
เนื่องจากต้นไม้ใหญ่บริเวณนั้นล้ม จะทำให้มือด้านขวานั้นหักลงจนถึงทุกวันนี้ประวัติของนักบุญฟรานซิส เซเวียร์
นักบุญฟรานซิส เซเวียร์ท่านนี้ได้รับฉายาว่าเป็น “อัครสาวกแห่งอินเดีย” (the Apostle of  Indies)
ด้วยเหตุที่ท่านเผยแผ่พระศาสนาคู่ขนานไปกับเส้นทางอาณานิคมของพวกโปรตุเกส อันได้แก่ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น บอร์เนียวและหมู่เกาะโมลุกกะนักบุญฟรานซิส เซเวียร์ถึงแก่มรณภาพที่เกาะฉางชวน (Shangchaun) ใกล้กับเมืองกวางตุ้งเมื่อปี 1552
ซึ่งท่านถูกฝังชั่วคราวที่นั่นแล้วจึงถูกเคลื่อนย้ายมายังมะละกา และต่อมายังเมืองกัวหรือโกว่า (Goa) ประเทศอินเดียอันเป็นฐานสำคัญ
ในการบัญชาการควบคุมทั้งเอเชียของโปรตุเกสเมื่อปี 1553อัฐิอันเป็นท่อนแขนล่างตลอดรวมไปถึงมือข้างขวาซึ่งท่านใช้ประกอบพิธีศีลจุ่มรับผู้เข้ามาสู่ศาสนาคริสต์ได้รับการเชิญไปใส่หีบแก้วบูชาไว้ที่ Il Gesu
อันเป็นโบสถ์หลักของคณะเยซูอิตซึ่งอยู่ในกรุงโรม อัฐิอันเป็นกระดูกส่วนแขนอีกชิ้นหนึ่งของท่านก็ได้จัดบูชาที่ มหาวิหารเซนต์ปอล แห่งเกาะมาเก๊า
จึงเป็นอันว่าอัฐิเกือบทั้งหมดของท่านเกี่ยวพันกันกับดินแดนใน (อดีต) อาณานิคมของโปรตุเกสทั้งสิ้น

เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ
นักบุญฟรังซิสเซเวียร์ St.Francisco Xavier ถือเป็นนักบุญที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก

จากตำนานที่มีการเล่ากันว่า เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว นักบุญ Farncis ได้สิ้นชีวิตไปเกือบ 1 ปี เขาได้ฝังศพไว้ในมะละกา
ต่อมาได้ขุดศพนักบุญ Farncis ขึ้นมาเพื่อที่จะนำท่านไปฝังที่เมืองกัวร์ ประเทศอินเดีย แต่เมื่อขุดศพท่านขึ้นมาปรากฏว่า
ศพท่านเหมือนคนนอนหลับ จึงได้ทำการขอตำแหน่งนักบุญให้แก่ท่านจากพระราชวังวาติกัน

แต่ทางพระราชวังได้ตอบกลับมาอีก 16 ปี ขอให้ตัดแขนนักบุญ Farncis ไปพิสูจน์ เมื่อตัดแขนปรากฏว่ามีเลือดไหลเหมือน ยังมีชีวิตอยู่
จึงได้รับประกาศให้เป็นนักบุญ St. Francis Xavier และอีก 60 ปีผ่านไป ทางมะละกาต้องการสร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้บนยอดเขา St. Paul Hill
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ปรากฏว่าในวันหนึ่งเกิดฟ้าผ่าลงมาถูกกิ่งไม้ใหญ่หักลงมาถูกแขนหัก เหมือนแขนข้างที่ตัดส่งให้ พระราชวังวาติกัน
St. Francis Xavier จึงมีผู้นับถือทั่วโลกและมีโรงเรียนในชื่อท่านทั่วโลก

03
มุมมองจากภายนอก
07
ต้นไม้ใหญ่รอบๆ โบสถ์
10
สุดท้าย………… ขอเฉลยภาพที่ถามไว้ก่อนหน้านี้ “กำลังถ่ายรูปอะไร???”
เฉลย : ถ่ายรูปแมวครับ
ขอฝากไว้เป็นภาพสุดท้าย หวังว่าเรื่องราวต่างๆ ที่นำเสนอเป็นที่ถูกใจของสมาชิก MalaysiaFanclub กันทุกคนน่ะครับ
13
09
ฝากแผนที่ท่องเที่ยวไว้ให้ด้วยเลยล่ะกัน

Categories:   สถานที่ท่องเที่ยว มาเลเซีย